เชียงราย ยูไนเต็ด แชมป์ไทยลีก 2019 แชมป์หน้าใหม่ที่เหลือแค่ถ้วยนี้เพียงถ้วยเดียวเท่านั้น ทำให้ตู้โชว์ที่ สิงห์ สเตเดี้ยม มีถ้วยโชว์ครบครัน ทั้ง แชมป์เปี้ยนส์ คัพ ลีก คัพ และ เอฟเอคัพ

จากวันนั้นถึงวันนี้ 10 ปีพอดีที่ เชียงราย กลายร่างจาก กว่างธรรมดา กลายเป็น พญากว่าง ได้สำเร็จ คุณคิดว่าอะไรที่รวมพวกเขาให้ยิ่งใหญ่ได้สำเร็จในวันนี้ เรามีคำตอบ คนบ้าฟุตบอล มิติ ติยะไพรัช ฮั่น หรือ บิ๊กฮั่น เป็นประธานสโมสรตั้งแต่อายุ 23 ปี 10 ปีที่แล้วหลังก่อตั้งสโมสร เชียงราย ยูไนเต็ด ในช่วงที่ฟุตบอลดิวิชั่น 2 กำลังจะเกิดขึ้น ปี 2552 เขาจัดฟุตบอล 4 เส้า ขึ้นครั้งแรก เพื่อทดสอบทีม และเป็นทัวร์นาเม้นต์เปิดตัวเป้าหมายคือเลื่อนชั้น ที่สนาม ม.แม่ฟ้าหลวง กับแฟนบอลหลักร้อยคน แน่นอน เชียงราย คว้าแชมป์แรก ได้สำเร็จ แต่เส้นจากวันนั้นถึงวันนี้ ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ มีหลากหลายรสชาติเข้ามาทดสอบ ทั้งเรื่อง งบประมาณ หรือแม้กระทั้งสนาม แต่สุดท้าย คนอย่าง มิตติ ก็พา กว่างโซ้ง ผ่านไปได้ตลอด ไม่ง้อสตาร์ ดาวรุ่ง สุกงอม วันที่เชียงราย ขาย ธนบูรณ์ เกษารัตน์ และ ฐิติพันธ์ พ่วงจันทร์ ไปให้ บีจี หลายคนมองว่า เชียงราย น่าจะถึงช่วงขาลง กลับกัน วันที่คว้าแชมป์กลายเป็น พิธิวัต สุขจิตธรรมกุล,สุริยา สิงห์มุ้ย, ชัยวัฒน์ บุราณ,ศิวกร เตียรตระกูล, ชินภัทร ลีเอาะ กลายเป็นตัวหลักได้อย่างแข็งแกร่ง ซึ่งนักเตะเหล่านี้ เชียงราย ดึงมาจาก เอสซีจี เมืองทองฯ บวกกับ เอกนิษฐ์ ปัญญา แข้งอาคาเดมี่ แม้กระทั่ง อภิรักษ์ วรวงศ์ ผู้รักษาประตูมือ 3 ที่ถูกปั้นจนติดทีมชาติ พร้อมด้วย กองหน้าต่างชาติ บิล โรซิมา ที่ย้ายจากราชบุรี มิตรผล และ วิลเลี่ยม เอนริเก้ ลงตัวมาก หรือแม้กระทั่งโค้ช ไอลตัน กุนซือใหญ่ ที่เข้าคุมทีมแทน โจเซ่ อัลเวช บอจีส ทั้งที่ก่อนหน้านี้เขาเองเป็นแค่มือขวาบอจีส เท่านั้น ถ้าจะบอก ไอลตัน ว่าจบฤดูกาลคุณจะเป็นแชมป์ลีก เจ้าตัวเองคงไม่เชื่อ การเปลี่ยนแปลงที่ใช้สมองล้วน หลังจากมีกลุ่มทุนเข้ามาเสริมกำลังให้กว่างซ้ง แข็งแกร่งในปี 60

พร้อมการเข้ามาบริหารงานของ ธนพล วิระเทพสุภรณ์ ในตำแหน่งรองประธานสโมสร ทำให้ยอดทีมเมืองเหนือ จับจ่ายใช้สอยได้อย่างเต็มที่ มีงบประมาณสู้ลีกสูงสุดถึง 300 ล้านบาทสร้างความฮือฮา ดึงธนบูรณ์ เกษารัตน์ ด้วยการจ่ายถึง 50 ล้านบาท ให้กับเมืองทองฯ ซึ่งไม่ใช่เรื่องเล่นๆ แต่รู้หรือไม่ เชียงรายก่อนหน้านั้น เริ่มดึงนักเตะเมืองทองฯ คนแรกและอยู่จนทุกวันนี้ อย่างคุ้มค่า คือ เจ้าไดร์ ปิยะพล ผานิชกุล นั้นเอง แม้ช่วงที่ รองประธาน ธนพล ลาออก เชียงราย ก็ยังประคับประคอง ทีมได้ ดีเหมือนเดิม จากทีมไร้สนาม สู่ความฝันใหญ่ ใครจะรู้บ้างว่า เชียงราย ยูไนเต็ด ทีมนี้เปลี่ยนรังเหย้ามาแล้วกี่ ไล่ตั้งแต่ ม.แม่ฟ้าหลวง, สนามอบจ,จังหวัดเชียงราย จนถึงวันที่มีปัญหา ต้องโยกไปใช้สนาม 700 ปีจังหวัดเชียงใหม่ มิตติ ติยะไพรัช ก็พาทีมไปแข่ง จนได้กลับมาเล่นแม่ฟ้าหลวงอีกครั้ง สุดท้ายพวกเขาสร้างสนาม ยูไนเต็ด สตเดี้ยม ได้สำเร็จ ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็น สิงห์ สเตเดี้ยม บนทำเลทองหน้าสนามบินจังหวัดเชียงราย ฟอร์มตก,วิกฤติแฟนบอล ปี 2556 เชียงราย เจอกราฟขาลงโดยเฉพาะฟอร์มในสนามพวกเขาต้องเปลี่ยน สเตฟาโน่ คูกูร่า ออก แล้วให้ เฮงค์ วิสมัน ทำหน้าที่แทน

แต่ก็ยังไม่ดีขึ้นจนต้องหาไพ่ใบสุดท้าย ดึง อนุรักษ์ ศรีเกิด มาช่วยจนทีมรอดตายได้สำเร็จ ซึ่งช่วงเวลาฟอร์มตก ยอดแฟนบอลจากเกือบเต็มความจุ 12000 คน ก็บางตาเหลือหลัก 3-4 พันคนเท่านั้น แต่สุดท้ายวิกฤตินั้นก็ผ่านไปด้วยดี เมืองฟุตบอล เมืองเชียงราย เมื่อ 10 ปีก่อน อาจเป็นเรื่องใหม่ของคนเชียงราย ณ วันนี้ ถ้าไปจังหวัดเชียงราย ใครใส่เสื้อเชียงราย ยูไนเต็ด หรือป้ายสโมสรกว่างโซ้ง ไม่ใช่เรื่องแปลกเลย เพราะวันนี้ฟุตบอลคืออีกส่วนหนึ่งของชีวิตชาวเชียงราย แม้จะไม่ใช่ทีมเงินถุงมีปัญหามากมาย ใครจำได้ แฟนบอลเชียงราย เคยรถบัสคว่ำ ในเกมไปเยือนบุรีรัมย์ จนแฟนบอลเสียชีวิตหลายราย แต่สิ่งนั้น ไม่ได้ทำให้หัวใจรักฟุตบอลของชาวเชียงราย ลดน้อยลงเลย จากวันแรกที่ แม่ฟ้าหลวง ที่พวกเขาเล่นทัวนาเม้นต์ 4 เส้า ฉลองแชมป์เฮฮา ที่บ้าน มิตติ ติยะไพรัช ที่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย มีสักขีพยานไม่ถึง 100 คน 10 ปีต่อมา พวกเขาฉลองแชมป์ไทยลีก หนนี้ อาจจะปิดเมืองเชียงรายฉลอง พร้อมสักขีพยานแฟนบอลทั่วประเทศเกินล้านคนก็ได้